หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

การตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร

การตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร

       ก่อนอื่นขออธิบายลักษณะของรายการ "บัญชีเงินฝากธนาคาร" สักเล็กน้อย บัญชีเงินฝากธนาคารคือ บัญชีหลักสำหรับกิจการ ไว้ใช้บัญทึกการรับเงินค่าขาย หรือค่าบริการจากลูกค้า และเป็นบัญชีสำหรับรายการจ่ายค่าใช้จ่าย ที่เป็นตัวหลักๆ ของกิจการ โดยบัญชีเงินฝากธนาคารโดยทั่วไป จะประกอบด้วยบัญชีเดินสะพัดหรือบัญชีกระแสรายวัน และบัญชีฝากออมทรัพย์ รวมไปถึงบัญชีเงินฝากประจำที่มีอายุไม่เกิน 3 เดือน ที่พร้อมจะแปรสภาพมาให้กิจการใช้สอยได้ทันที ที่เรียกหา

ส่วนบัญชีเงินฝากประจำ ที่มีอายุเกินกว่า 3เดือนขึ้นไปและบัตรเงินฝากธนาคารทั้งหลายนั้น ปัจจุบัoถูกจัดให้ไปอยู่ ในบัญชีเงินลงทุนระยะสั้น และแยกแสดงเป็นรายการต่างหากในงบดุล ซึ่งเป็นไป ตามประกาศของ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพานิชย์ เรื่อง การแสดงรายการย่อในงบการเงิน ส่วนอีกหนึ่งบัญชีคือ บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ ถ้าเป็นในอดีตบัญชีเงินฝากออมทรัพย์อาจถือเป็น รายการหนึ่ง ในเงินลงทุนก็ได้ เพราะอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับค่อนข้างสูง แต่ในปัจจุบันตรงกันข้าม อัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์แทบไม่ถึงร้อยละ 1 บาท หรือมีก็ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ ยุคเศรษฐกิจกำลังรุ่งเรืองสุดขีดดังนั้นในปัจจุบันจึงถือเอาบัญชีเงินฝากออมทรัพย์แสดงรวมไว้ในบัญชีเงินฝากธนาคาร และแสดงรวมในหัวข้อ บัญชีเงินฝากธนาคาร ไม่แสดงเป็นเงินลงทุนระยะสั้นเหมือนแต่ก่อน
วิธีตรวจสอบบัญชีเงินฝากธนาคาร ควรเริ่มต้นจาก        1. การวิเคราะห์เปรียบเทียบยอดเงินคงเหลือ ณ วันสิ้นรอบบัญชีปัจจุบันกับวันสิ้นรอบบัญชี ในงวดก่อน แล้วติดตามหาสาเหตุของผลแตกต่าง โดยวิธีการสอบถามจากเจ้าของรายการ หรือผู้เกี่ยวข้อง
      2. ตรวจยันยอดคงเหลือในบัญชีเงินฝากธนาคารแต่ละบัญชีในงวดปัจจุบัน ณ วันสิ้นงวด โดยสอบยันยอดคงเหลือ กับยอดคงเหลือ ณ วันเดียวกันกับสมุดเงินฝากธนาคาร, Bank Statement ตามยอดคงเหลือที่ปรากฏ ณ วันสิ้นงวดบัญชี กรณีที่ยอดคงเหลือตามสมุดบัญชีของบริษัทมียอดคงเหลือไม่เท่ากับยอดตามสมุดเงินฝากธนาคารหรือ Bank Statement ผู้ตรวจสอบบัญชีต้องตรวจสอบกระทบยอดคงเหลือ กับงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร ณ วันสิ้นรอบบัญชีเดียวกัน
นอกจากนี้ผู้ตรวจสอบบัญชียังจะต้องตรวจดูความถูกต้องของงบพิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร โดยการตรวจย้อนรอยเริ่มตั้งแต่ต้นทางของการทำงบพิสูจน์เงินฝากธนาคารจนได้มา ซึ่งงบพิสูจน์ยอดเงิน ฝากธนาคาร และนอกจากผู้สอบบัญชีต้องย้อนรอยตรวจขั้นตอนของการจัดทำงบ พิสูจน์ยอดเงินฝากธนาคาร แล้ว ผู้สอบบัญชียังต้องมีหน้าที่ในการตรวจรายการที่ปรากฏเป็นยอดคงค้าง ติดในรายการงบพิสูจน์ ยอดเงินฝากธนาคารอีก เช่น เงินที่รับล่วงหน้าแต่ยังไม่ปรากฏรายการรับเงิน ในสมุดบัญชีเงินฝากธนาคาร หรือรายการจ่ายที่ผู้รับเงินยังไม่นำไปขึ้นเงิน หรือตัดบัญชีธนาคาร ด้วยการตรวจการรับ-จ่ายชำระกับสมุด เงินฝากธนาคารและ Bank Statement ภายหลังวันที่ที่ปรากฏ ในงบการเงิน
       ยกตัวอย่าง เช่น เราตรวจความถูกต้องของยอดคงเหลือที่ปรากฏในงบพิสูจน์ยอดเงินฝาก ของธนาคาร ณ วันที่ 31 ธันวาคม กับรายการรับ-จ่ายที่ปรากฏรายการรับ-จ่ายในสมุดเงินฝากธนาคาร หลังจากวันที่ 31 ธันวาคม เป็นต้นไป จนถึงรายการล่าสุด ณ วันที่กำลังปฏิบัติงานอยู่ ในหมู่ Auditor เรียกวิธีการตรวจนี้ว่า"การตรวจ Subsequent Event" หรือ "การตรวจเหตุการณ์หลังวันที่ในงบ การเงิน" ซึ่งบ่อยครั้งมักจะพบ รายการสอดไส้ในการจัดทำงบพิสูจน์ ยอดเงินฝากธนาคารด้วยวิธีนี้ เป็นส่วนใหญ่ ส่วนวิธีการตรวจสอบในข้อถัดไป ไม่สามารถบรรจุให้จบได้ในตอนนี้ ผมขอยกยอดไป ต่อในตอนหน้านะครับ สวัสดีครับ
ที่มา : http://www.dharmniti.co.th/article19.php

การวางแผนระบบบัญชีสำหรับธุรกิจ SMEs

การวางแผนระบบบัญชีสำหรับธุรกิจ SMEs

        การบัญชีมีคำนิยามต่างๆ กันตามความนิยม แต่ที่ใช้กันมาก ได้แก่คำนิยามของสมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศ สหรัฐอเมริกา ซึ่งกล่าวไว้ว่า การบัญชีหมายความถึง การจดบันทึก การจำแนก การสรุปผลละการรายงานเหตุการณ์เกี่ยวกับการเงิน โดยใช้หน่วยเป็นเงินตรารวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย จะเห็นได้ว่าในกระบวนการทำบัญชีนั้น
จะต้องเริ่มด้วยการรวบรวมเอกสารหลักฐานของเหตุการณ์ทางการเงินของธุรกิจหรือเรียกอีกอย่างว่ารายการค้าเพื่อนำมาจดบันทึก เรียงตามลำดับก่อนหลังในสมุดรายวัน แล้วจึงนำมาจำแนกแยกประเภทของรายการค้าในสมุดแยกประเภท จากนั้นทุกรอบระยะเวลา ตามแต่ที่เราต้องการ เช่นทุกเดือน หรือทุกไตรมาส หรือทุกปี ก็จะมาทำการสรุปผลสิ่งที่บันทึกแยกประเภทไว้แล้วนี้ออกมาเพื่อ แสดงฐานะทางการเงิน(งบดุล) ผลการดำเนินงาน (งบกำไรขาดทุน) และผลการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน (งบแสดงการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงิน) ซึ่งงบที่แสดงผลสรุปนี้เรียกรวมว่า งบการเงิน และงบการเงินที่ได้มาก็จะนำมาแปล ความหมายในรูปของการวิเคราะห์งบการเงินต่อไป
ประโยชน์ของการบัญชี
เมื่อมีการจัดทำบัญชีแล้ว กิจการก็จะได้รับประโยชน์จากรายงานทางการการบัญชีในด้านต่างๆมากมายได้แก่
บัญชีทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมดูแลทรัพย์สิน เช่นบัญชีแสดงยอดเงินสดคงเหลือย่อมเป็นการบังคับให้ผู้รักษาเงินสด ต้องรับผิดชอบในยอดเงินสดให้ตรงกับที่ปรากฏตามบัญชี
การบัญชีเป็นวิธีการเก็บรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริหารในการควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปโดยมี ประสิทธิภาพ ช่วยป้องกันความผิดพลาดในการทำงาน เช่นไม่หลงลืมจ่ายค่าใช้จ่ายซ้ำ และใช้ตรวจสอบความถูกต้องได้ในภายหลัง ช่วยคำนวณผลกำไรขาดทุนของกิจการสำหรับระยะเวลาหนึ่งรวมทั้งยังช่วยแสดงฐานะของกิจการในขณะใดขณะหนึ่งด้วย
ระบบบัญชี
ระบบบัญชี แบ่งแยกเป็นส่วนย่อยได้ดั้งนี้คือ
1.ระบบการรวบรวมจัดเก็บข้อมูลรายการทางการเงิน โดยกำหนดแบบพิมพ์หรือเอกสารที่กิจการใช้อยู่แล้วในการทำธุรกิจเช่น ใบส่งสินค้า ใบรับสินค้า ใบเสร็จรับเงิน ใบสำคัญรับเงิน ใบสำคัญจ่ายเงิน เป็นต้น ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลที่กิจการจะใช้ในการบันทึก รายการทางบัญชี
2.ระบบในการบันทึกรายการทางเงินเหล่านี้ตามลำดับก่อนหลัง โดยกำหนดประเภทของสมุดรายวันขั้นต้น ซึ่งทั่วไปก็ได้แก่ สมุดรายวันทั่วไป สมุดรายวันขาย สมุดรายวันซื้อ สมุดเงินสด เป็นต้น เพื่อใช้ในการบันทึกรายการดังกล่าว
3.ะบบการแยกประเภทบัญชี โดยกำหนดจากประเภทของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ ค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสมของแต่ละกิจการ เพื่อใช้ในการผ่านรายการบัญชี
4.ระบบในการจัดทำรายงานในรูปงบการเงินซึ่งได้แก่การวางรูปแบบของงบดุล งบกำไรขาดทุน และรายงานอื่นๆตามที่ี่กิจการ ต้องการ
การวางแผนระบบบัญชี
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าบัญชี คือการรวบรวมข้อมูลรายการค้าของกิจการ ดังนั้นพนักงานทุกคนของกิจการต่างก็มีส่วนอยู่ตลอดเวลาที่ ก่อให้เกิดรายการค้าขึ้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดให้ชัดเจนว่ามีการทำรายการค้าอย่างหนึ่งอย่างใดขึ้น พนักงานคนใดต้อง ทำอะไร ใช้เอกสารแบบพิมพ์อะไร กรอกข้อความอะไรลงในแบบพิมพ์ที่กำหนดนั้นเรียบร้อยแล้วต้องนำส่งให้พนักงานบัญชีอย่างไร และเมื่อพนักงานบัญชีได้รับแล้วจะต้องบันทึกอย่างไร ขั้นต่างๆที่กล่าวข้างต้นคือการวางแผนระบบบัญชีนั้นเอง ซึ่งกิจการโดยทั่วไป พอจะแยกธุรกรรมหลักๆที่ต้องวางหลักการ
ขั้นตอนในการทำงานเพื่อใช้ในการบันทึกรายการทางบัญชีได้ดังนี้
1.ระบบบัญชีสำหรับการจัดซื้อและควบคุมสินค้าคงเหลือ
2.ระบบบัญชีสำหรับการขายและควบคุมลูกหนี้
3.ระบบบัญชีสำหรับการคำนวณต้นทุนในการผลิต
4.ระบบบัญชีสำหรับเงินสดรับ
5.ะบบบัญชีสำหรับเงินสดจ่าย
เมื่อวางระบบกำหนดหน้าที่ของแต่คนได้แล้ว ในการบันทึกรายการทั้งในระดับตามเวลาก่อนหลัง และบันทึกแยกประเภทบัญชี ตลอดจนการจัดทำรายงาน กิจการอาจพิจารณาใช้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าช่วยได้ซึ่งปัจจุบันมีซอฟแวร์สำเร็จรูปทางบัญชีให้เลือก มากมายในท้องตลาด
ที่มา:อาจารย์สุเทพ ด่านศิริวิโรจน์

มาตรฐานการบัญชี(ปรับปรุง 2552)

มาตรฐานการบัญชี(ปรับปรุง 2552)

มาตรฐานการบัญชี

ในปัจจุบัน มาตรฐานบัญชี หรือ มาตรฐานการบัญชี ของประเทศไทยที่มีการบังคับใช้มีจำนวนทั้งสิ้น 30 ฉบับ แม่บทการบัญชี 1 ฉบับ และการตีความมาตรฐานบัญชีอีก 3 เรื่องดังนี้

มาตรฐานการบัญชี
ฉบับที่มาตรฐานการบัญชีวันถือปฎิบัติ
-แม่บทการบัญชี 
11หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ1 กรกฎาคม 2532
24การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน1 มกราคม 2537 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
25งบกระแสเงินสด (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
26การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์1 เมษายน 2537
27การเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน (ปรับปรุง 2549)1 มกราคม 2550
29สัญญาเช่า (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
30ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ1 มกราคม 2539
31สินค้าคงเหลือ (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
32ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์1 มกราคม 2542
33ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ1 มกราคม 2551
34การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (ปรับปรุง 2545)1 มกราคม 2545
35การนำเสนองบการเงิน (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
36การด้อยค่าของสินทรัพย์1 มกราคม 2542 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
37การรับรู้รายได้1 มกราคม 2542
38กำไรต่อหุ้น1 มกราคม 2542
39นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและข้อผิดพลาด (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
40การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน1 มกราคม 2542
41งบการเงินระหว่างกาล (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
42การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน1 มกราคม 2543
43การรวมธุรกิจ (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
44งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2550 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
45เงินลงทุนในบริษัทร่วม (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2550 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
46ส่วนได้เสียในการร่วมค้า (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2550 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
47การเปิดเผยข้อมูลของรายการระหว่างบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน1 มกราคม 2543 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
48การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน1 มกราคม 2543 (ยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัด)
49สัญญาก่อสร้าง (ปรับปรุง 2550)1 มกราคม 2551
51สินทรัพย์ไม่มีตัวตน1 มกราคม 2551
52เหตุการณ์ภายหลังวันที่ในงบดุล (ปรับปรุง 2549)1 มกราคม 2550
53ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้น และสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น1 มกราคม 2548
54การดำเนินงานที่ยกเลิก1 มกราคม 2548
การตีความมาตรฐานการบัญชี
เรืองที่เรื่องวันถือปฎิบัติ
2งบการเงินรวม-บริษัทย่อยที่เป็นกิจการเฉพาะกิจ1 มกราคม 2542
3เครื่องมือทางการเงินแบบผสมที่ออกโดยสถาบันการเงิน17 มิถุนายน 2542
9สินทรัพย์ที่ลูกหนี้โอนให้เพื่อชำระหนี้31 ธันวาคม 2546 ใช้แทนการตีความเรื่องที่ 1

สรุปมาตรฐานบัญชี และการตีความมาตรฐานการบัญชีที่ใช้ในปัจจุบัน
ปรับปรุง ณ 2 มกราคม 2551

มาตรฐานบัญชีสากล (IFRS, US GAAP)

ปัจจุบันหลายๆบริษัทชั้นนำของประเทศไทยโดยเฉพะในกลุ่ม Bank ให้ความสำคัญกับมาตรฐานบัญชีสากลเป็นอย่างมาก รายละเอียดเพิ่มเติมจะนำมากล่าวต่อไป

วันจันทร์ที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2553

รอบระยะบัญชีของการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล


ผู้มีหน้าที่เสียภาษีจากกำไรสุทธิ ต้องคำนวณกำไรสุทธิ จากรายได้จากกิจการ หรือเนื่องจาก กิจการที่กระทำในรอบระยะเวลาบัญชี หักด้วยรายจ่ายตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา65 ทวิ และมาตรา 65 ตรี ซึ่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่งๆ ไว้ดังนี้

(1)   รอบระยะเวลาบัญชีโดยทั่วไปตามบทบัญญัติมาตรา 65 แห่งประมวลรัษฎากร รอบระยะเวลาบัญชี สำหรับการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเท่ากับ 12 เดือน โดยจะเริ่มต้นและสิ้นสุดลงเมื่อใดก็ได้

(2)   รอบระยะเวลาบัญชีซึ่งน้อยกว่า 12 เดือน กรณีที่กฎหมายยอมให้รอบระยะเวลาบัญชีน้อยกว่า 12 เดือน ได้ มีเฉพาะกรณีดังต่อไปนี้ คือ

         ก.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเริ่มตั้งใหม่ จะถือวันเริ่มตั้งถึงวันหนึ่งวันใดเป็นรอบระยะ เวลาบัญชีแรกก็ได้ แต่รอบระยะเวลาบัญชีต่อไปต้องเท่ากับ 12 เดือน

         ข.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลอาจยื่นคำร้องขอเปลี่ยนวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีก็ได้ ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรจะเห็นสมควรและสั่งอนุญาตซึ่งรอบระยะเวลาบัญชีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนจะน้อยกว่า 12 เดือน

         ค.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เลิกกันให้ถือเอาวันที่เจ้าพนักงานจดทะเบียนเลิกเป็น วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

         ง.   บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลควบเข้ากัน ให้ถือว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นเลิกกัน รอบระยะเวลาบัญชีที่ควบเข้ากันจึงเป็นไปตาม (ค) ซึ่งอาจน้อยกว่า 12 เดือน

         ในกรณีที่บริษัทเลิกกิจการและยังชำระบัญชี ไม่เสร็จ หากมีกำไรสุทธิเกิดขึ้น จะต้องนำมาเสียภาษีเงินได้ นิติบุคคลเพราะประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ถือว่าบริษัทยังมีสภาพเป็นนิติบุคคลอยู่ตราบเท่าที่ยังชำระบัญชีไม่เสร็จสิ้น

(3)   รอบระยะเวลาบัญชีมากกว่า 12 เดือน รอบระยะเวลาบัญชีอาจขยายออกไปมากกว่า 12 เดือนก็ได้ ในกรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติ บุคคลเลิกกิจการ หากผู้ชำระบัญชี และผู้จัดการไม่สามารถยื่นรายการและเสีย ภาษีได้ภายใน 150 วันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้ว ถ้าได้ยื่นคำร้องต่ออธิบดีภายใน 30 วันนับแต่วัน ที่เจ้าพนักงานรับจดทะเบียนเลิก อธิบดีกรมสรรพากรอาจพิจารณาอนุมัติให้ขยายรอบระยะเวลาบัญชีออกไปได้ ซึ่งรอบระยะ เวลาบัญชีรอบนี้อาจเกิน 12 เดือนก็ได้)

ที่มา : กรมสรรพากร

นักบัญชียุคใหม่

นักบัญชียุคใหม่เป็นมุมมองใหม่อีกมุมหนึ่งของนักบัญชีที่พยายามจะเปลี่ยนแปลงบทบาทไปจากเดิม โดยที่มีนักบัญชีเป็นแกนหลัก ถ้าเราพูดถึงนักบัญชีหลายคนจะนึกถึงภาพสมุห์บัญชี  หรือผู้จัดการฝ่ายบัญชีที่เคร่งเครียดอยู่กับงานบัญชีบนโต๊ะทำงาน ง่วนอยู่กับตัวเลขมากมายที่แสนจะปวดหัว เน้นแต่ให้ตัวเลขสมดุล และปิดงบให้ได้ซึ่งบางครั้งหรืออาจจะบ่อยครั้งที่ต้องมีปัญหากับหน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องนำข้อมูลมาทำบัญชี ซึ่งต่างฝ่ายมีจุดยืนในการทำงานที่แตกต่าง ซึ่งทำให้เกิดปัญหาตามมา อย่างไรก็ตาม มีใครบ้างที่รู้เห็นความสำคัญของนักบัญชีสำคัญยิ่งกว่าบัญชีที่หลายคนต่างพูดกันว่าเป็นหัวใจของธุรกิจ ดังนั้นทำให้บทบาทของนักบัญชีไม่ค่อยพัฒนาหรือไม่สามารถทำให้คนปรับเปลี่ยนทรรศนะใหม่ปัจจุบันวิวัฒนาการใหม่ๆ ได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งบัญชีได้รับผลประโยชน์อย่างมากโดยเฉพาะ เรื่องของคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นเครื่องมือและสิ่งสำคัญยิ่งในขณะนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การที่นักบัญชีศึกษาและใช้คอมพิวเตอร์แล้ว จะเรียกว่าเป็นนักบัญชียุคใหม่ตามยุคของคอมพิวเตอร์ เพราะนักบัญชียุคใหม่จะต้องมี ทรรศนะวิสัยที่กว้างขึ้น รอบรู้มากขึ้น สิ่งเหล่านี้สามารถเรียนรู้ได้จากห้องประชุมและห้องสัมมนา ถือเป็นแหล่งที่เรียนรู้ที่ดี
มากอีกแห่งหนึ่ง หรือเรียนรู้จากประสบการณ์ อาจจะเป็นเรื่องราวต่างๆรอบตัวเรา นอกจากบัญชีเป็นสิ่งจำเป็นมากในการนำมาใช้การทำงานที่มีประสิทธิภาพแล้ว อีกทั้งยังสามารถลดปัญหาข้อขัดแย้งได้ด้วยกัน ถ้าเราเรียนรู้ถึงเรื่องคนและพฤติกรรม เรื่องเทคนิคการแก้ปัญหาเรื่องจิตวิทยาในการโน้มน้าว เรื่องคุณสมบัติของการเป็นผู้นำเรื่องเทคนิคการพูดในที่ชุมชน เรื่องอื่น ๆ อีกมากมาย ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ค่อยจะเกี่ยวกับวิชาบัญชี แต่ก็มีความสำคัญมากต่อการทำงาน เพราะผู้ที่รอบรู้มากกว่า จะเป็นผู้ที่ได้เปรียบกว่า แล้วเราก็สามารถนำวิธีการและเทคนิคต่างๆมาผสมผสานกับงานบัญชีได้ ทำให้ฝ่ายบัญชี และผู้ทำบัญชีเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้น และความสนใจในสิ่งต่างๆรอบตัวเราก็ควราให้ความสำคัญเพื่อเราจะได้เป็นผู้มีความรู้ ความคิดความอ่านมากขึ้นไปกว่าที่จะเป็นนักบัญชีเต็ม 100% เพราะฉะนั้นนักบัญชียุคใหม่ต้องสามารถคุยได้หลายเรื่อง ต้องทันสมัย เช่น เรื่องแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่แปด บอกให้ทราบถึงนโยบายในเรื่องการเงิน การคลังของประเทศอย่างไรบ้าง ทำไมจึงต้องมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จากแผน 1 จนถึงแผน 8 การนำนโยบายมาปฏิบัติตามแผนเป็นไปได้กี่เปอร์เซนต์ และหากรัฐบาลไม่นำนโยบายตามแผนไปสู่การปฏิบัติ จะเกิดผลกระทบอย่างไรบ้าง อย่างนี้เป็นเรื่องทั่วไปที่นักบัญชีควรจะรับทราบ และทำความเข้าใจและเรื่องภายในองค์กรที่เราปฏิบัติหน้าที่ เราก็ควรทำความเข้าใจไม่ว่าจะเป็นนโยบายด้านการตลาด การบริหารทรัพยากรมนุษย์ และอื่น ๆ ความรู้รอบตัวต่างๆ เหล่านี้นักบัญชีสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับงานได้อีกด้วย
นอกจากความรู้และความสนใจแล้ว นักบัญชียุคใหม่ยังต้องเป็น นักวางแผน และมองการณ์ไกล เพราะสิ่งนี้จะทำให้เราก้าวไปข้างหน้าก่อน ซึ่งเราพอที่จะรู้แนวทางปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นและจะสามารถแก้ไขปัญหาไปได้ด้วยดี เพื่อให้บรรลุวัตถุจุดประสงค์ในวันข้างหน้า เพียงเท่านี้ก้จะทำให้นักบัญชีสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น